ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

โตโยต้า คัมรี่

โตโยต้า คัมรี่ เป็นรถยนต์ตระกูลที่ได้รับความนิยมสูงเป็นอันดับต้นๆ ของรถโตโยต้า มีลักษณะเป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็ก ในรุ่น V และเป็นรถยนต์นั่งขนาดกลาง ในรุ่น XV

ในประเทศไทย คัมรี่ เริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศไทยเฉพาะรุ่น XV โดยก่อนหน้านี้ รถครอบครัวรุ่นที่มีชื่อเสียงของโตโยต้า คือ โตโยต้า โคโรน่า แต่เมื่อคัมรี่ XV เข้ามา คัมรี่เริ่มแย่งความนิยมมาจากโคโรน่า จนในที่สุด ก็กลายเป็นรถครอบครัวที่ขึ้นมามีชื่อเสียงแทนโคโรน่า หลังจากนั้นไม่นาน โคโรน่าก็มีอันต้องเลิกผลิตไป

ปัจจุบัน คัมรี่เป็นคู่แข่งทางธุรกิจกับ ฮอนด้า แอคคอร์ด, นิสสัน เทียน่า, ฮุนได โซนาต้า และอื่นๆ ซึ่งเป็นรถยนต์ที่มีขนาดและระดับราคาใกล้เคียงกัน แต่ก่อนที่คัมรี่จะเข้าไทย โตโยต้า โคโรน่า ก็เคยเป็นคู่แข่งของแอคคอร์ดมาก่อน

รถตระกูลคัมรี่ กำเนิดโดยแตกหน่อออกมาจากรถตระกูลเซลิก้า รถตระกูลเซลิก้ากำเนิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2513 ในเวลานั้น เซลิก้าเป็นรถสปอร์ตที่นั่งตอนเดียว ขับเคลื่อนล้อหลัง เปิดประทุนได้ รูปตัวถัง 3 แบบ คือ Hardtop , Liftback และ Coupe เหมาะสำหรับงานแข่งรถ โดยเฉพาะการแข่งแรลลี่ หลังจากนั้น ก็ได้แยกสายการผลิตออกไปเป็นคัมรี่ สาเหตุของการแบ่งคัมรี่ออกเป็นรุ่น V และ XV เนื่องมาจาก ที่ญี่ปุ่น กำหนดเกณฑ์แบ่งขนาดของรถยนต์โดยสารออกเป็น 3 ประเภท คือ

จากการจำแนกขนาดของรถยนต์นี้ จะนำไปใช้คิดอัตราการจ่ายภาษีในด้านต่างๆ รถยนต์ประเภท Kei Car จะเสียภาษีต่ำที่สุด, 5 Number จะจ่ายภาษีปานกลาง และ 3 Number จะจ่ายภาษีหนักที่สุด ในรุ่นแรกๆ ของคัมรี่นั้น ใช้รหัสตัวถัง V ในยุคนี้โตโยต้าพยายามจะตรึงขนาดตัวถังและเครื่องยนต์ไว้อยู่ที่ระดับ 5 Number เพื่อให้เสียภาษีในอัตราต่ำ ทำให้คัมรี่ในยุคแรกนี้ยังจัดอยู่ในระดับรถยนต์นั่งขนาดเล็ก หรือ C-Segment (ซึ่งเป็นขนาดเดียวกับที่โตโยต้า โคโรลล่า อัสติส เป็นในปัจจุบัน แต่เนื่องจากในยุคนั้น โคโรลล่าเองยังเป็นรถขนาดเล็กมาก หรือ B-Segment ห่างจากคัมรี่ 1 ขั้นเต็ม คัมรี่จึงมีที่ยืนทางการตลาด)

ต่อมา รถรุ่นใหม่ๆ เริ่มออกมามีขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งค่ายโตโยต้า และค่ายอื่น โตโยต้าจึงต้องพยายามออกแบบคัมรี่ให้ใหญ่ขึ้นเพื่อสู้กับกระแสการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน แต่คัมรี่รุ่นที่มีอยู่ (รหัส V) ใหญ่จนถึงขีดจำกัดของพิกัด 5 Number ของญี่ปุ่นแล้ว รถที่ใหญ่กว่านี้แม้เพียงเล็กน้อยจะจัดอยู่ในพิกัด 3 Number ทันที และจะทำให้ค่าภาษีของคัมรี่ในญี่ปุ่นสูงขึ้นอย่างมาก โตโยต้าจึงตัดสินใจ แยกเป็นสองคัมรี่ คัมรี่แรก คือคัมรี่ที่พัฒนาต่อจากเดิม ตรึงขนาดไว้ที่ 5 Number ขายเฉพาะในญี่ปุ่น คัมรี่สอง ออกแบบให้ใหญ่ขึ้นไปอยู่ที่ขนาดกลาง หรือ D-Degment ขายในประเทศอื่น (เนื่องจากอัตราภาษี 5 Number, 3 Number มีผลเฉพาะที่ญี่ปุ่น) โดยคัมรี่รุ่นที่มีขนาดใหญ่กว่านี้ ใช้รหัสตัวถัง XV โดย XV รุ่นแรก เปิดตัวใน พ.ศ. 2534 จนกระทั่งเมื่อเวลาผ่านไป รถโคโรลล่าเองก็ได้รับการพัฒนาจนกระทั่งมีขนาดใหญ่ขึ้นใกล้เคียงคัมรี่รหัส V ในขณะที่คัมรี่ XV ก็พัฒนารุ่นใหม่ให้ขนาดใหญ่ขึ้น นั่งสบายขึ้นไปเรื่อยๆ จนคัมรี่รหัส V ไม่มีที่ยืนในตลาดอีกต่อไป ในปี พ.ศ. 2541 จึงได้ยกเลิกการใช้ชื่อคัมรี่ ไปใช้ชื่อ โตโยต้า วิสต้า และกลายเป็นรถขนาดเดียวกับโคโรลล่า และต่อมาก็ได้ยกเลิกไป โดยรหัส V รุ่นสุดท้ายที่ได้ใช้ชื่อคัมรี่คือรุ่น V40

ในรุ่นปี พ.ศ. 2523 ตระกูลเซลิก้า ได้มีการผลิตรถเซลิก้ารุ่นพิเศษ เป็นรถเซลิก้า ที่นั่งสองตอน ตัวถัง Sedan ซึ่งเป็นการผสมผสานเทคโนโลยีรถสปอร์ตเข้ากับรถเก๋งทั่วไป โดยเป็นการผสมเทคโนโลยีระหว่างรถสามตระกูล โดยรับจากตระกูลเซลิก้าเป็นส่วนใหญ่ และรับจากตระกูลโคโรน่า กับตระกูลคาริน่าอีกจำนวนหนึ่ง รถเซลิก้ารุ่นพิเศษ มีชื่อว่ารุ่น "เซลิก้า คัมรี่"

รถรุ่นเซลิก้า คัมรี่ มีความใกล้เคียงกับรถรุ่นเซลิก้าธรรมดา แต่การที่ผสมผสานเทคโนโลยีสปอร์ตเข้ากับรถเก๋งทั่วๆไป ทำให้รุ่นเซลิก้า คัมรี่ มียอดขายสูงขึ้นเรื่อยๆ

จนกระทั่งรุ่นปี พ.ศ. 2525 รถเซลิก้า คัมรี่ มียอดขายสูงแซงรถรุ่นเซลิก้าธรรมดา และในบางประเทศ รถรุ่นเซลิก้า คัมรี่ เข้ามาครองตลาดแทนรถรุ่นเซลิก้าธรรมดา ทำให้โตโยต้า ค่อนข้างมั่นใจว่า "คัมรี่" สามารถยืนหยัดได้โดยไม่ต้องแอบอิงชื่อตระกูลเซลิก้า และ"คัมรี่" สามารถเป็นรถตระกูลใหม่ของโตโยต้าได้ ดังนั้น โตโยต้าจึงตั้งคัมรี่เป็นรถตระกูลใหม่ และให้เริ่มผลิตได้ทันที

โฉมนี้ เป็นโฉมแรกของรถรุ่นคัมรี่ ผู้ออกแบบรถต้องพยายามทำให้รถตระกูลใหม่นี้มีความเป็นเอกลักษณ์ของตระกูล โดยรถรุ่นนี้จะยังเหลือความเป็นคาริน่า กับความเป็นโคโรน่า ยังเหลืออยู่เล็กน้อย แต่ก็น้อยมาก และในขณะเดียวกันก็เริ่มตีตัวออกห่างจากความเป็นเซลิก้า เริ่มมีความเป็นเอกลักษณ์ของตน

รถคัมรี่โฉมนี้ จัดอยู่ในประเภทรถยนต์ขนาดเล็ก มีสองตอน ขับเคลื่อนล้อหน้า ซึ่งในโฉมนี้ จะมีการผลิตตัวถัง 2 แบบ คือ Sedan 4 ประตู และ Hatchback 5 ประตู

โฉมนี้ มีระบบเกียร์ 2 แบบ คือ อัตโนมัติ 4 สปีด และธรรมดา 5 สปีด มีเครื่องยนต์ 2 ขนาด คือ 1.8 ลิตร (74 แรงม้า) และ 2.0 ลิตร (92 แรงม้า)

โฉมนี้ มีตั้งแต่แบบขับเคลื่อนล้อหน้า และขับเคลื่อนสี่ล้อ มีตัวถัง 2 แบบ คือ sedan 4 ประตู กับ station wagon 4 ประตู

มีเครื่องยนต์ 3 ขนาด คือ 1.8 ลิตร (86 แรงม้า) , 2.0 ลิตร (110 แรงม้า) และ 2.5 ลิตร (156 แรงม้า) ซึ่งเฉพาะรุ่น 2.5 ลิตร จะเข้าข่ายจ่ายภาษีแบบ 3 Number

โฉมนี้ มีขายเฉพาะในญี่ปุ่นเท่านั้น เนื่องจากในตลาดโลกนั้นโตโยต้าได้พัฒนาคัมรี่รหัส XV10 ไปทำตลาดแทนแล้ว อย่างไรก็ตาม V30 กับ XV10 พัฒนามาด้วยกัน ในเรื่องของรูปทรงเส้นสายจึงคล้ายกัน แต่จะแตกต่างกันที่ขนาด มีตัวทั้งสองแบบคือซีดานและฮาร์ดท็อป (เปิดประทุนหลังคาแข็ง) เน้นขายเครื่องยนต์ 2.0 ลิตรสี่สูบ และ 2.0 ลิตรสี่สูบเบนซินเป็นหลัก แต่มีรุ่น 1.8 ลิตรสี่สูบสำหรับลูกค้าเน้นประหยัด และสำหรับลูกค้าญี่ปุ่นที่การจ่ายภาษีไม่เป็นประเด็นจะมีรุ่น 2.2 ลิตร เบนซินสี่สูบ 2.2 ลิตร ดีเซลสี่สูบ และ 3.0 ลิตร เบนซินหกสูบเป็นตัวเลือก

โฉมนี้ มีขายเฉพาะที่ญี่ปุ่นเท่านั้น มีเครื่องยนต์ 1.8 2.0 และ 2.2 ลิตร เบนซิน ไม่เป็นที่รู้จักมากนักในตลาดโลก เป็นรุ่นแรกของคัมรี่ที่ติดตั้งระบบเบรกป้องกันล้อล็อก และถุงลมนิรภัยคู่ เป็นอุปกรณ์มาตรฐานสำหรับทุกรุ่น

ในประเทศไทย โฉมนี้เป็นโฉมแรกที่โด่งดังในไทย เปิดตัวในประเทศไทย พ.ศ. 2536 แต่ยังเป็นโฉมที่ยังไม่ผลิตในไทย (รถนำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย) ดังนั้น ในวงการรถไทย จึงเรียกว่า "โฉมแรกประกอบนอก" ต่อมาใน พ.ศ. 2538 มีการปรับโฉมเปลี่ยนไฟท้าย ทำให้ในรุ่นท้ายๆ ของโฉมนี้ วงการรถไทย เรียกว่า "โฉมท้ายหงส์"

โฉมนี้ รุ่นปีแรกๆกับรุ่นปีท้ายๆ มีความแตกต่างกันในรายละเอียดพอควร พ่อค้ารถในไทยและวงการรถไทยจึงใช้ชื่อเรียกโฉมที่ต่างกัน โดยในรุ่นแรกๆ เรียกว่า "โฉมไฟท้ายไม้บรรทัด" (ไฟยาว) ส่วนรุ่นท้ายๆ จะเรียก "โฉมท้ายย้อย" (ไฟย้อย) แต่การขายก็ล่าช้ากว่าต่างประเทศ โดยขายระหว่าง พ.ศ. 2542-2545

ในประเทศไทย โฉมนี้ ในช่วงแรกคัมรี่ยังต้องนำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย แต่ใน พ.ศ. 2543 ก็ย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทย

ข้อแตกต่างของคัมรี่รุ่นไฟท้ายไม้บรรทัด ระหว่างรุ่นที่ผลิตในประเทศออสเตรเลีย กับรุ่นที่ผลิตในประเทศไทย คือ คัมรี่ออสเตรเลียที่ขายในช่วงแรก มีเฉพาะรุ่น 2.2SE.G เท่านั้น แต่จะเป็น 2.2SE.G ที่ภายในสีเทา ไม่มีลายไม้ ล้ออัลลอยก้านตรง เบาะปรับมือ ในขณะที่ 2.2SE.G รุ่นประเทศไทย จะได้ภายในสีครีม ตกแต่งลายไม้ ล้ออัลลอยก้านเฉียง เบาะปรับไฟฟ้า

ทุกรุ่นมีระบบเบรกป้องกันล้อล็อกและถุงลมนิภัยคู่หน้าเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน และหลังการปรับโฉมเป็นรุ่นไฟท้ายย้อย ได้เพิ่มไฟตัดหมอกในทุกรุ่น และตัดรุ่น 2.2SE.G เกียร์ธรรมดาออกจากสายการผลิต

โฉมนี้ ขับเคลื่อนล้อหน้า มีเครื่องยนต์ 5 ขนาด คือ 2.0 ลิตร (144 แรงม้า) , 2.4 ลิตร (152 แรงม้า) , 3.0 ลิตร (192 แรงม้า) , 3.0 ลิตร (210 แรงม้า) และ 3.3 ลิตร (225 แรงม้า)

มี 3 ระบบเกียร์ คือ อัตโนมัติ 4 สปีด , อัตโนมัติ 5 สปีด และธรรมดา 5 สปีด แต่ในประเทศไทย เกียร์ธรรมดาในคัมรี่ถูกยกเลิก

โฉมนี้ พ่อค้ารถในไทย และวงการรถไทย นิยมเรียกว่า "โฉมตาเหยี่ยว" เริ่มการขายในไทย พ.ศ. 2545-2549 ล่าช้ากว่าต่างประเทศเช่นเคย

โฉมนี้เปิดตัวครั้งแรกในเดือนสิงหาคมปีพ.ศ. 2549เริ่มผลิตเมื่อรุ่นปี พ.ศ. 2550 และโตโยต้ามีแผนจะผลิตคัมรี่โฉมนี้ไป 5 รุ่นปีดังเดิม โดยมีแผนจะผลิตโฉมนี้ไปจนถึงรุ่นปี พ.ศ. 2554 โฉมนี้ จัดเป็นรถขนาดกลาง (Mid-Size Car)

โฉมนี้ ขับเคลื่อนล้อหน้า มีเครื่องยนต์ 3 แบบ คือ 2.0 ลิตร (147 แรงม้า) 2.4 ลิตร (167 แรงม้า) และ 3.5 ลิตร (272 แรงม้า)มาในภายหลัง

มี 5 ระบบเกียร์ คือ อัตโนมัติ 4 สปีด (ในรุ่น 2.0 ลิตร) ,อัตโนมัติ 5 สปีด , อัตโนมัติ 6 สปีด , ธรรมดา 5 สปีด และธรรมดา 6 สปีด แต่ในประเทศไทย เกียร์ธรรมดาในคัมรี่ถูกยกเลิก

โฉมนี้เป็นโฉมแรกที่คัมรี่เจเนอเรชันใหม่ถูกนำเข้าตลาดไทยในปีเดียวกับต่างประเทศ (เริ่มขาย พ.ศ. 2549-2554)

โฉมนี้ เริ่มผลิตในปี พ.ศ. 2554-ปัจจุบัน โดยได้เริ่มจำหน่ายในประเทศไทยเมื่อเดือนมีนาคมในงานมอเตอร์โชว์ พ.ศ. 2555-ปัจจุบัน มีตัวถังแบบเดียวคือตัวถังแบบซีดาน 4 ประตู

คัมรี่รหัส V ทุกรุ่นไม่เคยมีการจำหน่ายอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด เนื่องจากขณะนั้นในประเทศไทยมี โตโยต้า โคโรน่า ซึ่งจัดเป็นรถที่มีขนาดเครื่องยนต์และตัวถังใกล้เคียงคัมรี่รหัส V จำหน่ายอยู่แล้วอย่างยาวนาน จึงไม่มีความจำเป็นที่จะนำเข้ามาจำหน่าย ดังนั้นในช่วงก่อนที่คัมรี่รหัส XV รุ่นแรกจะเปิดตัวจะเปิดตัว โคโรน่า จึงเป็นรถที่โตโยต้าวางตำแหน่งการตลาดไว้อยู่ในระดับเดียวกับ ฮอนด้า แอคคอร์ด แต่สำหรับคัมรี่รหัส XV นั้นได้เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยอย่างเป็นทางการทุกรุ่นตั้งแต่รุ่นแรกจนถึงปัจจุบัน โดยเปิดตัวในประเทศไทยใน พ.ศ. 2536 โดยในประเทศไทยจะมักจะเรียกว่า ACV นั่นเอง

คัมรี่ XV รุ่นแรกเปิดตัวในประเทศไทยในปีเดียวกับที่โคโรน่า ST190 (รุ่นที่ 10 หรือรุ่นท้ายโด่ง) เปิดตัว โตโยต้าประเทศไทยได้เปลี่ยนให้คัมรี่ XV มาเป็นคู่แข่งกับแอคคอร์ดและรุ่นอื่นๆ แทนที่โคโรน่าด้วยเพราะคัมรี่มีขนาดที่ใหญ่กว่า แล้วลดตำแหน่งทางตลาดของโคโรน่าลงไปอยู่ตรงกลางระหว่างโคโรลล่ากับคัมรี่ แต่ก็ได้ยกเลิกการผลิตโคโรน่าลงไปภายหลัง


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406